เมนู

อนุปปันนมัคคัสส อุปทานปัญหา ที่ 10


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงมีพระราชโองการตรัสถามอรรถปัญหาอื่นสืบไปว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าอันประกอบด้วยปรีชาญาณ สมเด็จพระบรมโลก-
นาถศาสดาจารย์มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า พระตคาคตเป็นผู้ยังมรรคที่ยังมิได้เกิดให้บังเกิดขึ้น
แล้วกลับมีพระพุทธฎีกาตรัสอีกว่า ภิกฺขเว ดูกรภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย เราผู้ตถาคตได้เห็นปุราณ-
มรรคหนทางเก่า ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในก่อนทรงอนุญาตไว้แล้วดังนี้ นี่แหละ
เป็นคำแย้งกันอยู่ เดิมพระองค์ตรัสว่าพระตถาคตเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดเอง ภายหลัง
สิว่า พระองค์เห็นปุราณมรรคที่พระพุทธเจ้าในก่อนได้ทรงอนุญาตไว้ จะเชื่อคำเดิม คำหลังก็ผิด
เชื่อฟังไม่ได้ ครั้นจะเชื่อฟังคำหลัง คำเดิมก็ผิด เป็นที่สงสัยอยู่ อยํ ปญฺโห อันว่าปัญหานี้
อุภโต โกฏิโก มีที่สุดเป็นสองเงื่อนอยู่ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าโปรดวิสัชนาให้แจ้งในกาลบัดนี้
เถโร อาห พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร
พระราชสมภารผู้ประเสริฐ เดิมสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ประทานพระพุทธฎีกาไว้ว่า
พระตถาคตยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นดังนี้ ภายหลังสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดา
ตรัสว่าพระตถาคตได้เห็นแล้วซึ่งปุราณมรรคหนทางเก่า ที่พระพุทธเจ้าแต่ก่อนอนุญาตไว้ คำ
ทั้งสองนี้ถูกต้องทั้งสองสถาน จะมีผิดเพี้ยนหรือโต้แย้กันหามิได้ มหาราช ขอถวายพระ
พรบพิตรผู้ประเสริฐ อันว่าปุราณมรรคนั้น ก็ได้แก่พระอัฏฐังคิกมรรคอันมีองค์ 8 ประการ
พระอัฏฐังคิกมรรคนี้ สมเด็จพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนตรัสรู้แล้วก็สรรเสริญอนุญาตไว้ ให้ฝูงสัตว์
โลกทั้งหลายพากันปฏิบัติสิ้นด้วยกัน ครั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าแต่ก่อนเสด็จเข้าสู่พระนิพพาน
ล่วงแล้ว พระอัฏฐังคิกมรรคนั้นก็ลี้ลับไป หาผู้จะปฏิบัติมิได้เลย พระอัฏฐิคิกมรรคนั้นลี้ลับอยู่
เปรียบอุปมาฉันใด จกฺกวตฺติโน มณีรตนํ วิย เปรียบดุจแก้วมณีอันเกิดสำหรับบุญแห่งสมเด็จ
บรมจอมจักรพรรดิราชผู้ประเสริฐ ครั้นสมเด็จบรมจอมจักรพรรดิราชเสด็จล่วงลับดับสูญสิ้น
พระชนมายุแล้ว อันดวงแก้วมณีรัตน์นั้นก็อันตรธานหายจากสถานที่นั้น ไปสถิตซ่อนอยู่ที่ยอด
เขาวิบุลบรรพต ครั้นบรมจอมจักรพรรดิราชองค์อื่นได้มาเป็นใหม่ แก้วมณีรัตน์นั้นก็มาสู่สำนัก
สมเด็จบรมจอมจักรพรรดิราชพระองค์นั้น มหาราช ขอถวายพระพร เมื่อเป็นเช่นนั้นจะว่าแก้วมณี
อันปรากฏขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิราช พระเจ้าจักรพรรดิราชทรงสร้างแก้วมณีใหม่ขึ้นเองหรือ
เป็นประการใด
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นนราธิปไตยจึงตรัสตอบว่า น หิ ภนฺเต ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา
จะว่าพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้นสร้างแก้วมณีใหม่หาได้ไม่ แก้วมณีเก่านั้นเอง แต่เกิดขึ้นแก่พระ
เจ้าจักรพรรดิราชนั้น

พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพร แก้วมณีเก่าที่ลี้ลับซ่อนเร้น
อยู่ อันใครจะเห็นไม่ได้ มาปรากฏเกิดขึ้นด้วยบุญญานุภาพของพระเจ้าจักรพรรดิราช ยถา มี
ครุวนาฉันใด ปุราณมรรคที่สมเด็จพระพุทธเจ้าแต่ก่อนตรัสเทศนาโปรดสัตว์โลกให้ปฏิบัตินั้น
ครั้นสมเด็จพระบรมครูเจ้าแต่ปางก่อนเสด็จเข้าสู่พระนิพพานแล้ว ฝูงสัตว์โลกมิได้ปฏิบัติ ปุราณ-
มรรคนั้นก็อันตรธานหายลีลับอยู่ ครั้นสมเด็จพระบรมครูเจ้าได้ตรัสสำเร็จแก่พระปรมาภิเษก
สัมโพธิญาณแล้ว ปุราณมรรคนั้นก็มาปรากฏให้รู้ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ ปานประดุจแก้วมณี
อันมาสู่สมบรมโพธิสมภารแห่งบรมจักรพรรดิราชฉันนั้นแล
ประการหนึ่ง สมเด็จพระสัพพัญญูบรมครูเจ้าของเรานี้มาได้รู้ปุราณมรรคนี้ เปรียบดุจ
หนึ่งว่าสตรีภาพอันเกิดบุตร สตรีให้บุตรอันมีอยู่แล้วเกิดแก่กำเนิด โลกเขาเรียกว่า ชนิกา หญิง
ผู้ให้บุตรเกิด มีครุวนาฉันใด สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าก็ยังปุราณมรรคอันมีอยู่แล้ว แต่ลี้ลับอยู่
ให้บังเกิดขึ้นในพระพุทธสันดาน ปานดุจสตรีภาพอันให้บุตรเกิดฉะนั้น
ประการหนึ่ง ดุจบุรุษชายมีทรัพย์อันสูญหายแล้ว และได้ทรัพย์กลับคืนมา โลกเขา
เรียกกันว่า บุรุษนั้นให้ทรัพย์เกิดขึ้น มีครุวนาฉันใดก็ดี สมเด็จพระพิชิตมารโมลีเจ้าก็ได้ปุราณ-
มรรคที่อันตรธานหายอยู่นั้นกลับคือมา มีครุวนาดุจบุรุษชายได้ทรัพย์ที่หายนั้นคืนมา
มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารพระองค์ผู้ประเสริฐในพระบวรราช-
ศฤงคาร โกจิ ปุริโส เปรียบดุจบุรุษผู้ใดผู้หนึ่งจะใคร่หาซึ่งที่อยู่ให้สบายใจ วนํ โสเธตฺ-
วา
ชายนั้นจึงไปถางป่าอยู่ คนทั้งหลายนั้นก็เรียกชายนั้นว่า ภูมิสามิโก เป็นเจ้าของที่ ข้อความ
นี้เปรียบฉันใด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถศาสดาจารย์เจ้า พระองค์ทรงชำระสะสางซึ่งมรรคที่
ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ปุราณมรรคนี้ลับลี้ไปแล้ว ถ้าสมเด็จพระสัพพัญญูเข้าหาได้ทรงชำระไม่ก็ยัง
จะลับอยู่ ต่อสมเด็จพระบรมครูเจ้าทรงชำระไปจึงได้ปุราณมรรคมา พระองค์ก็เป็น มคฺคสามิโก
เจ้าของแห่งมรรค เหมือนบุรุษผู้หักร้างถางป่าเป็นที่บ้าน ได้ชื่อว่าเป็นนายบ้านนั้น ขอถวาย
พระพร
ก็ปุราณมรรคที่ได้แก่พระอัฏฐังคิกามรรคทั้ง 8 ประการนี้คือ สมฺมาทิฏฺฐิ ถือสัมมทิฐ
1 สมฺมาสงฺกปฺโป ดำริในการที่จะให้เป็นกุศล 1 สมฺมาวาจา มีวาจาปราศจากวจีทุจริต 4
ประการ กล่าแต่ล้วนสิ่งเป็นกุศล 1 สมฺมากมฺมนฺโต ประกอบการงานเป็นการกุศล 1 สมฺ-
มาวายาโม
มีเพียรทีจะประกอบการกุศล 1 สมฺมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตโดยชอบธรรมประการ 1
สมฺมาสติ มีสติเป็นอันดี ระลึกอยู่ในการกุศล 1 สมฺมาสมาธิ คือมีสติสมาธิอยู่ในทางภาวนา
สมาธิเป็นต้นเป็นประธานประการ 1 สิริเป็นอัฏฐิงคิกมรรคทั้ง 8 ประการเท่านี้ สมเด็จพระ
พิชิตมารโมลีเจ้า กระทำให้บังเกิดขึ้นคราวเดียวในเวลาเมื่อยังมรรคผลให้บังเกิดนั้น


ซึ่งสมเด็จพระสัพพัญญูเข้ามาตรัสเป็นคำภายหลังนี้ หวังจะให้รู้พระอัฏฐังคิกมรรค 8
ประการนี้ ลี้ลับไปช้านาน ต่อสมเด็จพระบรมมิ่งมงกุฏโลกาจารย์ได้ตรัส จึงได้ชักเอามาตรัส
พระธรรมเทศนา ที่แท้นั้นมรรคที่ยังไม่บังเกิด พระองค์ให้บังเกิดนั้น คือพระอัฏฐังคิกอริย-
มรรคที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรงอนุญาตไว้นั้นเอง แต่อันตรธานสูญหายลี้ลับไปไม่มีใครจะ
รู้จะเห็นได้เท่านั้น บพิตรพระราชสมภารพึงเข้าพระทัยด้วยประการดังนี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ก็สิ้นสงสัย สาธุการชมสติปัญญาพระนาคเสนผู้
เฉลิมปราชญ์ ดุจนัยหนหลัง
อนุปปันนมัคคุสส อุปปาทปัญหา คำรบ 10 จบเพียงนี้
จบปัญจมวรรค

ฉัฏฐวรรค


ปฏิปทาโทสปัญหา ที่ 1


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นพิภพสาคลราชธานี จึงมีพระราชโองการถามต่อไปว่า ภนฺเต
นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนเถระผู้ปรีชาญาณ สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ได้ทรงกระทำทุกร-
กิริยาอันเป็นกรรมที่บุคคลจะพึงทำได้ด้วยยากแล้ว ในที่อื่นพระองค์มิได้ทรงปรารภความเพียร
ปราบปรามกิเลสกำจัดเสนามารเช่นนั้นอีก เพราะพระองค์ทรงกระทำทุกรกิริยานั้นจะได้ความ
ชื่นบานสักหน่อยหนึ่งก็หามิได้ จึงกลับพระทัยเลิกการทรงกระทำทุกรกิริยานั้นเสียแล้ว ยังมี
พระพุทธฎีกาตรัสไว้ว่า เราผู้ตถาคตมิได้บรรลุคุณวิเศษ เป็นอุตริมนุสธรรมที่รู้แจ้งเห็นจริง
ของพระอริยะเพราะทุกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้เลย ต่อเมื่อเราผู้ตถาคตมากลับจิตคิดว่า อาตมา
กระทำทุกรกิริยาอย่างนี้หาได้ธรรมวิเศษไม่ ทางที่จะปฏิบัติเพื่อโพธิญาณพึงมีโดยทางอื่น ดังนี้
แล้วพระองค์ก็ละเสียซึ่งความเพียรในอันกระทำทุกรกิริยา กระทำอย่างอื่นต่อไปจึงได้สำเร็จแก่
พระสร้อยสรรเพชญโพธิญาณ มาภายหลังกลับทรงบัญญัติให้พระภิกษุภิกษุณีปฏิบัติทางปฏิบัติ
ที่พระองค์เหนื่อยหน่ายแล้วด้วยพระคาถานี้ว่า
อารภถ นิกฺขมถ ยุญฺชถ พุทฺธสาสนํ
ธุนาถ มจฺจุโน เสนํ นฬาคารํว กุญฺชโร
ดังนี้
กระแสความในพระคาถานี้ว่า ภิกฺขเว ดูรานะภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งปวงจงปรารภ
ความเพียร จงออกจากหมู่และคณะ อย่าอยู่ในหมู่ในคณะ จงเป็นสัลเลขสันโดษ ไปอยู่ในไพร
สัณฑ์ประเทศ ถืออรัญญิกธุดงค์อยู่ในรุกขมูลต้นใดต้นหนึ่ง ยุญฺชถ จงมาประกอบอุตสาหะเพียร
ภาวนาซึ่งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ในพระบวรพุทธศาสนาของตถาคต ธุนาถ
จงกำจัดเสียซึ่งเสนา มจฺจุโน แห่งพระยามัจจุราช กุญฺขโร อิว ประดุจพระยากุญชรชาติช้างใหญ่
อันเมามัน นฬาคารํ ฉีกเสียพังเสียซึ่งเรือนมีฝาอันบุคคลกระทำด้วยไม้อ้อ อย่าได้ละความ
เพียรในกาลนั้น นี่แหละพระผู้เป็นเจ้าสมเด็จพระบรมครูสัพพัญญูผู้ประเสริฐ เหนื่อยหน่าย9ึ่ง
มหาปธานวิริยะเป็นเพียรอันเคร่งครัด ขณะเมื่อกระทำทุกรกิริยา พระองค์มาติเตียนและวาง
เสียแล้ว ก็ไฉนจึงตรัสบัญญัติให้ภิกษุปฏิบัติกระทำปธานวิริยอุตสาหะที่พระองค์เหนื่อย
หน่ายละวางเสียเล่า
พระนาคเสนเถระผู้ปรีชาเฉลิมปราชญ์จึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตร
พระราชสมภารพระองค์ผู้ประเสริฐ ไม่เป็นอย่างนั้น ความนี้แฝงกันอยู่ เมื่อสมเด็จพระบรมครู
สัพพัญญูเจ้าได้ตรัสนี้ ก็เป็นทางปฏิบัติอันเดียวกันกับที่บอกพระภิกษุนั้น เมื่อพระองค์กระทำ